บทความที่ได้รับความนิยม

วันพุธ, กันยายน 14, 2554

อ่านไม่ออก 1

     อ่านออกเขียนได้คิดเลขเป็น นับเป็นวลียอดฮิตที่ผู้อยู่ในวงการศึกษามักได้ยินได้ฟังและได้พูดกันอยู่บ่อยๆ ซึ่งที่จริงแล้ววลีดังกล่าวแทบจะเรียกได้ว่า เป็นเป้าหมายของการจัดการศึกษามาแต่ไหนแต่ไรแล้ว จนกระทั่งถึงกาลปัจจุบัน ก็ยังทันสมัยนิยมใช้กันอยู่ และพูดกันไม่รู้เบื่อเหมือนเดิม แถมยังพูดบ่อยกว่าเดิมด้วยซ้ำ ตั้งแต่ครูน้อยไปจนถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  เลยทีเดียว

ในทั่วทุกหัวระแหงของห้องโรงเรียน เราสามารถแบ่งกลุ่มผู้เรียนตามแนวคิดขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เป็น 4 กลุ่ม หรือ 4 เหล่า คือ
      กลุ่ม/เหล่าที่ 1 อุคคฏิตัญญู พวกที่มีสติปัญญาฉลาดเฉลียว เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมก็สามารถรู้ และเข้าใจในเวลาอันรวดเร็ว เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ เมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็เบ่งบานทันที
      กลุ่ม/เหล่าที่ 2 วิปจิตัญญู พวกที่มีสติปัญญาปานกลาง เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติม จะสามารถรู้และเข้าใจได้ในเวลาอันไม่ช้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำซึ่งจะบานในวันถัดไป
      กลุ่ม/เหล่าที่ 3 เนยยะ พวกที่มีสติปัญญาน้อย แต่เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มอยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ มีสติมั่นประกอบด้วยศรัทธา ปสาทะ ในที่สุดก็สามารถรู้และเข้าใจได้ในวันหนึ่งข้างหน้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะค่อยๆ โผล่ขึ้นเบ่งบานได้ในวันหนึ่ง
      กลุ่ม/เหล่าที่ 4 ปทปรมะ พวกที่ไร้สติปัญญา และยังเป็นมิจฉาทิฏฐิ แม้ได้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจความหมายหรือรู้ตามได้ ทั้งยังขาดศรัทธาปสาทะ ไร้ซึ่งความเพียร เปรียบเสมือนดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม ยังแต่จะตกเป็นอาหารของเต่าปลา ไม่มีโอกาสโผล่ขึ้นพ้นน้ำเพื่อเบ่งบาน (http://th.wikipedia.org : 13 กันยายน 2554)

วันศุกร์, กรกฎาคม 29, 2554

กิจกรรมวันภาษาไทยของโรงเรียนบ้านบักจรัง

    
        ภาษาไทยถือเป็นภาษาแห่งชาติ และเป็นเอกลักษณ์ของชาติที่เราคนไทยควรภาคภูมิใจ เพราะบางประเทศไม่มีแม้กระทั่งภาษาที่เป็นของตัวเอง  ในขณะเดียวกันบางภาษาไม่มีแม้กระทั่งประเทศเขตแดนเป็นของตนเอง (ไม่ได้ว่าใครนะครับเปรียบเทียบให้เห็นภาพเท่านั้น) ดังนั้นเราควรอนุรักษ์ภาษาไทยให้คงอยู่ และสืบทอดต่อไปให้ลูกหลานได้ศึกษา หากเราคนไทยไม่ช่วยกันรักษาไว้ สักวันหนึ่งอาจจะไม่มีภาษาไทยให้ลูกหลานใช้ก็เป็นได้

วันพฤหัสบดี, กรกฎาคม 07, 2554

การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน ตอนที่ 10

        จากที่เขียนมาทั้ง  10  ตอน  จะเห็นได้ว่า ครูเป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดในการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ครูจึงควรต้องมีบุคลิกภาพที่เหมาะสม และมีความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้   ซึ่งสรุปได้ดังนี้


     1. ด้านบุคลิกภาพ
          1.1 มีกิริยาวาจาเหมาะสม
          1.2 อารมณ์ดี มีเมตตา
          1.3 ใช้ภาษาแจ่มชัด
          1.4 ขจัดความลำเอียง
          1.5 หลีกเลี่ยงการตำหนิ
          1.6 หมั่นคิดริเริ่มสร้างสรรค์
          1.7 อารมณ์ขันแทรกสร้าง
          1.8 สร้างสัมพันธ์ฉันท์มิตร
          1.9 ติดตามทันโลกเสมอ
          1.10 ค้นให้เจอความสามารถเด็ก

การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน ตอนที่ 9

การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้อย่างมีความสุข

        ด้วยหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับปัจจุบัน มุ่งหวังให้ผู้เรียนเป็นคนดี คนเก่ง มีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ทำงานและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขครูจึงเป็นบุคคลที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข

ความหมายของการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้อย่างมีความสุข

        บรรยากาศการเรียนรู้อย่างมีความสุข คือ การจัดสภาพการเรียนการสอนให้มีบรรยากาศที่ผ่อนคลาย นักเรียนรู้สึกเป็นอิสระ ได้เรียนรู้โดยวิธีการต่างๆ อย่างหลากหลาย ครูยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคลและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพ

ความสำคัญของการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้อย่างมีความสุข

        การสร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนทั้งปัจจุบันและอนาคต ดังนี้
        1. ทำให้ผู้เรียนมีสุขภาพจิตดี มีความสุข สดชื่น เบิกบาน ซึ่งเป็นพื้นฐานของการเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพที่ดีในอนาคต
        2. ทำให้ผู้เรียนเกิดกำลังใจ ใฝ่เรียนรู้ ไม่ท้อแท้ หรือท้อถอย เป็นการส่งเสริมนิสัย ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน และรักการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ตลอดชีวิต

การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน ตอนที่ 8

ลักษณะของชั้นเรียนที่ดี

   ห่างหายไม่ได้ปรับปรุงมาร่วมเดือน  มาคราวนี้เสนอเรื่องบรรยากาศในชั้นเรียนต่อครับ  พี่น้องเพื่อนครูอย่าพึงเบื่อก็แล้วกัน  นะครับ
เพื่อให้การจัดชั้นเรียนที่ถูกต้องตามหลักการ ผู้สอนควรได้ทราบถึงลักษณะของชั้นเรียนที่ดี ที่พอสรุปได้ดังนี้

    1. ชั้นเรียนที่ดีควรมีสีสันที่น่าดู สบายตา อากาศถ่ายเทได้ดี ถูกสุขลักษณะ
    2. จัดโต๊ะเก้าอี้และสิ่งที่ที่อยู่ในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน และกิจกรรมประเภทต่างๆ
    3. ให้นักเรียนได้เรียนอย่างมีความสุข มีอิสรเสรีภาพ และมีวินัยในการดูแลตนเอง
    4. ใช้ประโยชน์ชั้นเรียนให้คุ้มค่า ครูอาจดัดแปลงให้เป็นห้องประชุม ห้องฉายภาพยนตร์และอื่น ๆ
    5. จัดเตรียมชั้นเรียนให้มีความพร้อมต่อการสอนในแต่ละครั้ง เช่น การทำงานกลุ่ม การสาธิตการแสดงบทบาทสมมุติ
    6. สร้างบรรยากาศให้อบอุ่น ให้ความเป็นกันเองกับผู้เรียน

วันพุธ, มิถุนายน 08, 2554

การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน ตอนที่ 7

หลักการจัดชั้นเรียน


        เนื่องจากชั้นเรียนมีความสำคัญ เปรียบเสมือนบ้านที่สองของนักเรียน นักเรียนจะใช้เวลาอยู่ในชั้นเรียนประมาณวันละ 5-6 ชั่วโมง อิทธิพลของชั้นเรียนจึงมีมากพอที่จะปลูกผังลักษณะของเด็กให้เป็นแบบที่ต้องการได้ เช่น ให้เป็นตัวของตัวเอง ให้สามารถทำงานเป็นหมู่คณะได้ดี ให้ชอบแสวงหาความรู้อยู่เสมอ ให้มีความรับผิดชอบ ให้รู้จักคิดวิเคราะห์ ดังนั้นเพื่อให้นักเรียนมีคุณลักษณะนิสัยดังประสงค์ และมีความรู้สึกอบอุ่นสบายใจในการอยู่ในชั้นเรียนครูจึงควรคำนึงถึงหลักการจัดชั้นเรียน ดังต่อไปนี้
        1. การจัดชั้นเรียนควรให้ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม ชั้นเรียนควรเป็นห้องใหญ่หรือกว้างเพื่อสะดวกในการโยกย้ายโต๊ะเก้าอี้ จัดเป็นรูปต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอน ถ้าเป็นห้องเล็ก ๆ หลาย ๆ ห้องติดกัน ควรทำฝาเลื่อน เพื่อเหมาะแก่การทำให้ห้องกว้างขึ้น
        2. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างเสริมความรู้ทุกด้าน โดยจัดอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมหรือหนังสืออ่านประกอบที่หน้าสนใจไว้ตามมุมห้อง เพื่อนักเรียนจะได้ค้นคว้าทำกิจกรรมควรติดอุปกรณ์รูปภาพและผลงานไว้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้

วันเสาร์, พฤษภาคม 21, 2554

การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนตอนที่ 6

เทคนิคการปกครองชั้นเรียนของครู


        เทคนิคหรือวิธีการที่ครูใช้ปกครองชั้นเรียนมีส่วนส่งเสริมในการสร้างบรรยากาศทางจิต
วิทยา กล่าวคือ ถ้าครูปกครองชั้นเรียนด้วยความยุติธรรม ยึดหลักประชาธิปไตย ใช้ระเบียบกฎเกณฑ์ที่ทุกคนยอมรับ ยินดีปฏิบัติ นักเรียนก็จะอยู่ในห้องเรียนอย่างมีความสุข เกิดความรู้สึกอบอุ่นพอใจและสบายใจ ในทางตรงกันข้าม ถ้าครูโลเล ไม่ยุติธรรม เลือกที่รักมักที่ชัง ปกครองชั้นเรียนแบบเผด็จการ นักเรียนจะเกิดความรู้สึกไม่ศรัทธาครู ไม่เห็นคุณค่าของระเบียบกฎเกณฑ์ ส่งผลให้นักเรียนไม่สนใจเรียน ไม่อยากมาโรงเรียนในที่สุด ดังนั้นเทคนิควิธีการปกครองชั้นเรียนของครูจึงมีความสำคัญต่อการสร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาด้วย  ในการปกครองชั้นเรียน ครูควรยึดหลักต่อไปนี้

การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน ตอนที่ 5

พฤติกรรมการสอนของครู

        พฤติกรรมการสอนของครูมีบทบาทในการสร้างความรู้สึกที่ดีให้แก่นักเรียน เช่นเดียวกับ
บุคลิกภาพของครู ในการสอนครูต้องใช้เทคนิคและทักษะการสอนที่สอดคล้องเหมาะสมกับนักเรียนและบทเรียน เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้ เจตคติ และทักษะตามที่หลักสูตรกำหนด พฤติกรรมของครูควรเป็นดังนี้
        2.1 ตอบสนองพฤติกรรมของนักเรียนโดยใช้เทคนิคการเสริมแรงที่เหมาะสม เช่น ใช้วาจา ใช้ท่าทาง ให้รางวัล และสัญลักษณ์ต่าง ๆ ตลอดจนให้ทำกิจกรรมที่นักเรียนชอบ ครูควรเริมแรงให้ทั่วถึงและเหมาะสม
        2.2 เปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น และยอมรับฟังความคิดเห็นของนักเรียน แสดงให้นักเรียนเห็นว่าความคิดของเขามีประโยชน์ พยายามนำความคิดเหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเรียนรู้

วันพุธ, พฤษภาคม 11, 2554

การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนตอนที่ 4

การจัดบรรยากาศทางด้านจิตวิทยา

        การจัดบรรยากาศทางด้านจิตวิทยาหรือทางด้านจิตใจ จะช่วยสร้างความรู้สึกให้นักเรียนเกิดความสบายใจในการเรียน ปราศจากความกลัวและวิตกกังวล มีบรรยากาศของการสร้างสรรค์เร้าความสนใจ ให้นักเรียนร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยความสุข นักเรียนจะเกิดความรู้เช่นนี้ ขึ้นอยู่กับ “ ครู” เป็นสำคัญ ในข้อเหล่านี้
        1. บุคลิกภาพ
        2. พฤติกรรมการสอน
        3. เทคนิคการปกครองชั้นเรียน
        4. ปฏิสัมพันธ์ในห้องเรียน
แต่ละข้อมีรายละเอียดดังนี้

1. บุคลิกภาพของครู

        สภาพบรรยากาศของห้องเรียนมีส่วนสัมพันธ์กับบุคลิกภาพของครู ครูที่มีบุคลิกภาพดีเช่น การแต่งกาย การยืน การเดน ท่าทาง น้ำเสียง การใช้คำพูด การแสดงออกทางสีหน้า แววตา ฯลณ เหมาะสมกับการเป็นครู จะช่วยส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ได้ดี บุคลิกภาพของครูมีผลต่อความรู้สึกของนักเรียน ดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน. 2531 : 8, 13)

การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน ตอนที่ 3

ประเภทของบรรยากาศในชั้นเรียน

        สุมน อมรวิวัฒน์ (2530 : 13) ได้สรุปผลการวิจัยเรื่องสภาพในปัจจุบันและปัญหาด้านการเรียนการสอนของครูประถมศึกษาไว้ สรุปได้ว่า บรรยากาศในชั้นเรียนต้องมีลักษณะทางกายภาพที่อำนวยความสะดวกต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สร้างความสนใจใฝ่รู้และศรัทธาต่อการเรียน นอกจากนี้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มนักเรียนและระหว่างครูกับนักเรียน ความรักและศรัทธาที่ครูและนักเรียนมีต่อกัน การเรียนที่รื่นรมย์ปราศจากความกลัวและวิตกกังวล สิ่งเหล่านี้จะช่วยสร้างบรรยากาศการเรียนได้ดี ดังนั้นจึงสามารถแบ่งประเภทของบรรยากาศในชั้นเรียนได้ 2 ประเภทคือ
        1. บรรยากาศทางกายภาพ
        2. บรรยากาศทางจิตวิทยา
บรรยากาศทั้ง 2 ประเภทนี้ มีส่วนส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งสิ้น

วันอังคาร, พฤษภาคม 03, 2554

การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน ตอนที่ 2

บรรยากาศที่พึงปรารถนาในชั้นเรียน

         ในการจัดการเรียนการสอน ผู้สอนต่างปรารถนาให้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างราบรื่น และผู้เรียนเกิดพฤติกรรมตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ในหลักสูตร บรรยากาศในชั้นเรียนมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมให้ความปรารถนานี้เป็นจริง พรรณี ชูทัย (2522 : 261 – 263)กล่าวถึงบรรยากาศในชั้นเรียนที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการสอน จัดแบ่งได้ 6 ลักษณะ สรุปได้ดังนี้
        1. บรรยากาศที่ท้าทาย (Challenge) เป็นบรรยากาศที่ครูกระตุ้นให้กำลังใจนักเรียนเพื่อให้ประสบผลสำเร็จในการทำงาน นักเรียนจะเกิดความเชื่อมั่นในตนเองและพยายามทำงานให้สำเร็จ
        2. บรรยากาศที่มีอิสระ (Freedom) เป็นบรรยากาศที่นักเรียนมีโอกาสได้คิด ได้ตัดสินใจเลือกสิ่งที่มีความหมายและมีคุณค่า รวมถึงโอกาสที่จะทำผิดด้วย โดยปราศจากความกลัวและวิตกกังวล บรรยากาศเช่นนี้จะส่งเสริมการเรียนรู้ ผู้เรียนจะปฏิบัติกิจกรรมด้วยความตั้งใจโดยไม่รู้สึกตึงเครียด

การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน ตอนที่ 1

         ใกล้จะเปิดภาคเรียนที่ 1 ของปีการศึกษา 2554 แล้ว ayboon จึงขอนำเอาสาระน่ารู้เกี่ยวกับวิชาชีพการจัดการเรียนรู้ของครูอย่างเราๆ ท่านๆ มาเสนอ เป็นเกล็ดเล็กเก็ดน้อยสำหรับการปฏิบัติงาน และเพื่อไม่ให้เนื้อหามีมากเกินไป จึงได้แบ่งออกเป็นทั้งหมด 10 ตอน ย่อย

         บรรยากาศในชั้นเรียนมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมความสนใจใคร่รู้ใคร่เรียนให้แก่ผู้เรียน ชั้นเรียนที่มีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันและกัน ย่อมเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการเรียน รักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน และช่วยปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความประพฤติอันดีงามให้แก่นักเรียน นอกจากนี้การมีห้องเรียนที่มีบรรยากาศแจ่มใส สะอาด สว่าง กว้างขวางพอเหมาะ มีโต๊ะเก้าอี้ที่เป็นระเบียบเรียบร้อย มีมุมวิชาการส่งเสริมความรู้ มีการตกแต่งห้องให้สดใส ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ส่งผลทำให้ผู้เรียนพอใจมาโรงเรียน เข้าห้องเรียนและพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนั้น ผู้เป็นครูจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ ประเภทของบรรยากาศ หลักการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนและการจัดการเรียนรู้อย่างมีความสุข เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีลักษณะตามที่หลักสูตรได้กำหนดไว้

วันพฤหัสบดี, มีนาคม 03, 2554

เชิญร่วมทำบุญหาทุนปรับปรุงอาคารเรียน

เรียน  ญาติสนิทมิตรสหาย ครูแก่  ศิษย์เก่า  โรงเรียนบ้านบักจรังทุกคน
          ด้วยโรงเรียนบ้านบักจรังโดยคณะกรรมการสถานศึกษา  มีมติร่วมกันที่จะจัดทำผ้าป่าระดมทรัพยากรระหว่างวันที่  ๑๒ -๑๔  เมษายน  ๒๕๕๔  เพื่อการปรับปรุงพัฒนาสถานศึกษาอันเป็นที่เคยอยู่เคยเรียนของตนเอง  และลูกหลานทั้งในปัจจุบันและอนาคต  เพื่อพัฒนาสถานศึกษาที่ชื่อโรงเรียนบ้านบักจรัง  โดยจะนำปัจจัยที่พึงจะได้มาทั้งหมดปรับปรุงอาคารเรียนให้มีสภาพที่น่าอยู่  น่าเรียน  และให้พ้นจากสภาพปัญหาที่โรงเรียนประสพอยู่ทุกปี  คือ  น้ำท่วมขัง  และห้องเรียนไม่เพียงพอ  ซึ่งคาดว่าน่าจะแก้ปัญหาไปได้ระดับหนึ่ง  (สภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันก็อย่างที่เห็นภาพนี่แหละครับ)  จึงบอกบุญมายังผู้มีจิตอันเป็นกุศลทุกท่าน  ศิษย์เก่า  ครูเก่า  เถ้าแก่  อาซ้อ  อาเฮีย  อาก๋ง  อากู๋  ทั้งหลาย  ตลอดทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  ทุกพรรค  ทุกจังหวัด  สว. เลือกตั้ง  สว.แต่งตั้ง  ก็ดี  ได้ร่วมเป็นเจ้าภาพทำบุญเพื่อพัฒนาอาคารเรียนของโรงเรียนนี้ทั่วทุกท่าน  ทุกคน

วันอาทิตย์, กุมภาพันธ์ 13, 2554

ความเสื่อมสลายของพระพุทธศาสนาในเวียดนาม

         ผมเกิดในยุคสงครามเวียดนามกำลังดุเดือด  เมื่อเริ่มอ่านคล่องเขียนคล่อง  และอ่านได้อย่างมีวิจารณญาณแล้ว  จึงชื่นชอบที่จะศึกษาเรื่องของสงครามเวียดนาม  เป็นชีวิตจิตใจ  จากสื่อหลากหลายชนิดที่พอหาได้ในขณะนั้น  เช่น  จากหนังสือ  ประวัติศาสตร์  สารคดี  นวนิยาย  ที่เคยอ่านยกตัวอย่างเช่น  กองร้อยปิศาจดำ  จงอางศึก  ไซง่อน (เขียนโดยแอนโทนี  เกร์  :  จิรา  สันติฤดี  แปล)  แหกค่ายนรกเดียนเบียนฟู  ฯลฯ  ถ้าเป็นภาพยนตร์จะดูภาพยนตร์ฝรั่งครับ (เพราะสมจริงกว่าภาพยนตร์ไทยเยอะเลย  เช่น  แรมโบ้  ทั้ง  ๓  ภาค, We Were Soldier (ชื่อไทย : เรียกข้าว่าวีรบุรุษ)  Platoon ( ชื่อไทย ก็  พลาทูน)  ฯลฯ    แต่ถึงอย่างไรผมก็ไม่ใช่คนกระหายสงครามเหมือนผู้นำประเทศสารขัณฑ์  ในขณะนี้
          ในช่วงที่จะเกิดสงครามเวียดนามนั้น  ประเทศเวียดนามใต้  โดยประธานาธิบดี  โง  ดินห์  เดียม  ผู้เผด็จการ  ได้ก่อกรรมทำเข็ญกับผู้นับถือพระพุทธศาสนาอย่างมหันต์  ดังบทความที่จะนำมาเผยแพร่ให้ได้รับทราบ  ต่อไปนี้

          เวียดนาม หากย้อนหลังไปเมื่อประมาณ 44 ปี หรือ พ.ศ. 2507 มีผู้นับถือศาสนาพุทธอยู่ถึง 99 เปอร์เซ็นต์ ไม่ต่างกับประเทศไทยในเวลานั้น รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆเช่น ลาว กัมพูชา และพม่า แต่พุทธศาสนาในเวียดนามต้องพบกับการบีบคั้นเป็นอย่างมาก จากรัฐบาลที่เป็นกลุ่มตัวแทนของคาทอลิค และมีใบสั่งจากอเมริกา
          เหตุการณ์เลวร้ายในเวียดนามเกิดขึ้นในสมัยของ ประธานาธิบดี โง ดินห์ เดียม ผู้โค่นล้มระบอบกษัตริย์บ่าวได๋ และ ตั้งตนเองขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนแรกของเวียดนาม โดยการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา ร่วมกับกรุงวาติกัน(ศูนย์กลางคริสต์จักรคาทอลิค) จนกลายเป็นรัฐบาลคริสเตียนโรมันคาทอลิค โดยโง ดินห์ เดียม ได้แต่งตั้งญาติพี่น้องและคนใกล้ชิดที่เป็นคาทอลิคด้วยกันเข้าร่วมรัฐบาล พร้อมกับให้ความสำคัญและให้สิทธิพิเศษแก่ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ รวมถึงประชาชนที่นับถือศาสนาคริสต์ ส่วนผู้นับถือศาสนาพุทธกลายเป็นบุคคลชั้นสอง
          หลังจาก โง ดินห์ เดียม ได้เป็นประธานาธิบดี ก็ได้ออกกฏหมาย และระเบียบต่างๆที่หักหาญจิตใจชาวพุทธ จนเกิดการต่อต้านจากพระสงฆ์ กลุ่มแม่ชี และชาวพุทธในเวียดนาม แต่เป็นการต่อต้านแบบอหิงสา เช่นการเดินขบวน แจกจ่ายแถลงการณ์ และอดอาหารประท้วง

วันพุธ, มกราคม 26, 2554

งานวิจัย การพัฒนาและหาประสิทธิภาพแผนการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพประกอบการเล่าเรื่องในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ชั้นอนุบาลปีที่ ๒


ชื่อเรื่อง   การพัฒนาและหาประสิทธิภาพแผนการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพประกอบการเล่าเรื่อง  ในกิจกรรมเสริมประสบการณ์  ชั้นอนุบาลปีที่ 2 
ผู้ศึกษา       นางพลอย  สุภิษะ  ตำแหน่งวิทยฐานะ  ครูชำนาญการ
สถานที่ทำงาน      โรงเรียนบ้านบักจรัง  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์  เขต  3
ปีที่ศึกษา             ภาคเรียนที่  1 / 2553

บทคัดย่อ

                   การจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2  เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งถือเป็นการจัดการศึกษาที่ให้แก่วัยเริ่มต้นของชีวิตมนุษย์  เพราะนักเรียนจะมีพัฒนาการทุกด้านอย่างรวดเร็วมาก1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพแผนการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพประกอบการเล่าเรื่อง  เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการฟังและการพูด  ในกิจกรรมเสริมประสบการณ์  ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  80/80 (2)  เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการฟังและการพูด    ก่อนเรียนและหลังการจัดประสบการณ์ด้วยแผนการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพประกอบการเล่าเรื่อง  เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการฟังและการพูด ในกิจกรรมเสริมประสบการณ์  ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2