บทความที่ได้รับความนิยม

วันจันทร์, ธันวาคม 03, 2555

สีข้าวกับสีคน

ระบบ  (System)  หากให้คำจำกัดความเพื่อให้เข้าใจกันง่าย  มักจะหมายถึง ส่วนต่างๆ  จำนวนหนึ่ง  ซึ่งมีความสัมพันธ์และขึ้นอยู่ต่อกัน  เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  เพื่อกระทำบางสิ่งบางอย่างให้สำเร็จผลตามที่ต้องการ  และมักอธิบายต่ไปว่า  ระบบมักจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ  คือ
   1. ปัจจัยนำเข้า
   2. กระบวนการ
   3. ผลลัพท์
   4. ผลสะท้อนกลับ
หากเปรียบเทียบระบบให้เข้าใจกันง่ายยิ่งขึ้น  ให้พิจารณาโรงสีข้าวครับ (ส่วนท่านใดจะเอาไปเปรียบเทียบกับอย่างอื่นก็แล้วแต่ชอบครับ) ซึ่งเป็นกระบวนการผลิตข้าวสารที่มีอยู่ทั่วไป  ทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก  ระบบของโรงสี  จะเป็นอย่างนี้  คือ
   1. ปัจจัยนำเข้า  ได้แก่  ข้าวเปลือก (ทั้งข้าวจ้าว  ข้าวเหนียว)  ซึ่งโรงสีจะมีที่เทข้างเปลือกที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไป  ข้าวเปลือกจะถูกร่อนโดยตะแกรงลวดเพื่อเอาเศษฝุ่น  ผง  ดิน  หิน  เศษฟางข้าว  ออกไปก่อน  นับว่าเป็นวิธีคัดเลือกวัตถุดิบให้มีคุณภาพก่อนป้อนเข้าสู่ตอนต่อไป  หลังจากผ่านการคัดเลือกโดยชาวนามาครั้งหนึ่งแล้ว
 

วันพุธ, กันยายน 12, 2555

การอ่าน (อีกแล้ว)



ห่างหายจากบล็อกไปนานโข  มาคราวนี้ก็นำปัญหาเดิมๆ  มาเล่าสู่กันฟัง  ปัญหาที่ยกมาตั้งเป็นประเด็นในการเขียนครั้งนี้ก็หนีไม่พ้นเรื่องของ  การอ่าน
การอ่านคืออะไร  หมายถึงอะไร  ทำไมสำคัญแท้  ตอบประเด็นให้เข้าใจ
  การอ่าน  หมายถึง  การรับรู้ข้อความจากการเขียนของตนเองหรือของผู้อื่น  ซึ่งรวมไปถึงการรับรู้ความหมายจากเครื่องหมายและสัญลักษณ์ต่างๆ  เช่นเครื่องหมาย  จราจร  เครื่องหมายบนแผนที่  เป็นต้น
การอ่านมีความสำคัญมากน้อยเพียงใดล่ะ 
  คนเป็นสัตว์สังคมที่อยู่ร่วมกันและมีความสัมพันธ์กันในกลุ่มของตน  อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความคิด  ความสนใจ เพื่อให้สังคมเกิดความสงบสุขและพัฒนา  การติดต่อสื่อสารจึงเข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการเชื่อมโยงคนทุกคนเข้าด้วยกัน  มีการสนทนา  การอ่านข้อเขียนซึ่งกันและกัน  สำหรับสังคมปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  แม้ว่าจะมีการสื่อสารถึงกันด้วยวิธีการใหม่ๆ  แต่การอ่านก็ยังมีความสำคัญต่อวิธีการสื่อสารเหล่านั้นด้วย  ไม่ว่าจะเป็นการอ่านข้อความ อ่านจดหมายอิเลคทรอนิคส์  อ่านเฟชบุ๊ค ฯลฯ
  การอ่านเป็นทักษะที่จำเป้นอย่างยิ่งต่อการศึกษาหาความรู้และพัฒนาชีวิต  นอกจากจะทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้แล้ว  ยังก่อให้เกิดความเพลิดเพลินสนุกสนาน  ส่งเสริมให้มีความคิดสร้างสรรค์  ได้แนวคิดในการดำเนินชีวิต  นอกจากนี้แล้ว  การอ่านยังเป็นหัวใจของการศึกษาทุกระดับ  และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาหารู้ของคนทุกเพศทุกวัย

วันอาทิตย์, พฤษภาคม 20, 2555

เมื่อต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญ ตอนที่ 2


2.  แนวทางที่อาศัยวิธีการทางสถิติ  เป็นการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยอาศัย  ค่าของตัวเลขหรือค่าทางสถิติต่างๆ  เช่น 
การวิเคราะห์ทั้งฉบับ  เพื่อตรวจสอบความตรง (Validity) ความเที่ยง (Reliability)
การวิเคราะห์เป็นรายข้อ  เพื่อตรวจสอบความยากของข้อสอบ (Item difficulty) และอำนาจจำแนกของข้อสอบ (Item discrimination) วิธีการนี้  เราต้องนำเครื่องมือที่สร้างขึ้นมาแล้วนำไปทดลองใช้  แล้วนำผลที่ได้มาคำนวณค่าต่างๆ  เทียบกับเกณฑ์การยอมรับ  ถ้าหากอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ก็สามารถที่จะนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการทำวิจัยต่อไปได้  แต่ถ้ายังไม่อยู่ในเกณฑ์การยอมรับ  ก็จะต้องนำมาปรับปรุงและนำไปทดสอบ  หรือทดลองใช้ใหม่จนกว่าค่าที่ได้จะอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้
ในบางเทคนิคอาจพิจารณาค่าทางสถิติจากความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญก็ได้   เช่น  พิจารณาจากค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อสอบหรือข้อคำถามกับจุดประสงค์ (Index Item-Objective congruence :IOC ) ซึ่งเป็นวิธีที่นักวิจัยนิยมกันอีกวิธีหนึ่งโดยเฉพาะการวิจัยในชั้นเรียน  และงานวิจัยที่เสนอเป็นผลงานทางวิชาการเพื่อขอมีขอเลื่อนวิทยฐานะ

วันจันทร์, เมษายน 09, 2555

เมื่อต้องเป็นผู้เชียวชาญ



การวิจัยเป็นกระบวนการสำคัญในการได้มาซึ่งความรู้  เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประดิษฐ์คิดค้น  นวัตกรรมต่างๆ  ที่มีคุณค่า  ช่วยให้สามารถแก้ปัญหา  ปรับปรุง  พัฒนาการปฏิบัติงานต่างๆ  ในสถานศึกษา   ทั้งทางด้านการจัดการเรียนรู้  การบริหารการศึกษา  เป็นต้น  ซึ่งได้มีผู้ทำการวิจัยในลักษณะต่างๆ  จำนวนไม่น้อย 
การจะทำวิจัยสักเรื่องหนึ่ง  ก็มิใช่จะว่าง่าย  ไม่ว่าการวิจัยนั้นจะทำกับกลุ่มประชากรขนาดเล็ก  เช่นการวิจัยในชั้นเรียน  หรือกระทำกับกลุ่มประชากรขาดใหญ่ในระดับจังหวัด  ระดับเขตพื้นที่  ระดับภาค  และระดับประเทศ  เป็นต้น  แต่ไม่เป็นเรื่องยากสำหรับผู้ที่ได้เรียนรู้ระเบียบวิธีวิจัย  สถิติสำหรับการวิจัย  หรือได้ผ่านการทำวิจัยมาบ้างพอสมควรแล้ว 
หากแต่สำหรับเพื่อนครูบ้านนอกของผมหลายท่าน  ถ้าพูดถึง  กล่าวถึง  หรือเพียงแค่คิดถึงงานวิจัย  ดูเหมือนว่าจะกลายเป็นเรื่องของการเข็นครกขึ้นภูเขาขึ้นมาทันที  แม้แต่ครูผู้มีความชำนาญเป็นพิเศษในโรงเรียนที่ผมทำงานอยู่ก็เช่นกัน  ท่านก็ยังงงเป็นไก่ตาฟาง  คลำทางไม่ถูก  (เพราะงานวิจัยที่ท่านส่งเป็นผลงานทางวิชาการนั้นท่านอ่านเองแล้วไม่เข้าใจ  แม้จะอธิบายให้เพื่อนร่วมงานฟัง  ฟังอย่างไรก็ไม่เข้าใจ...... อ้าว.....แล้วใครล่ะที่จะอ่านเข้าใจ...)

วันพฤหัสบดี, มีนาคม 15, 2555

ครูกับการใช้เทคโนโลยี


 

ปัจจุบันสื่อการเรียนการสอนประเภทเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาได้เข้ามามีบทบาท  ในกระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นอย่างมาก  ผู้มีอาชีพครูคงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสื่อประเภทนี้มีผลต่อคุณภาพในการจัดการเรียนรู้ของตนเองอีกด้วย  การที่จะใช้การเรียนการสอนแบบโบราณ  คือ  กระดาน  ชอล์ค  และก็ทอล์ค (พูด)  นับว่าจะทำให้ผู้เรียยนเบื่อหน่ายมากขึ้น  เบื่อทั้งวิธีการจัดการเรียนรู้ของครู  และก็เบื่อหน้าครูไปพร้อมๆ  กันด้วย  
     เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ตามบ้านทั่วไป  มีราคาถูกลงมากเมื่อเทียบกับสมัย  10  ปีที่ผ่านมา  แทบจะเรียกได้เลยว่า  คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าประจำบ้านเฉกเช่นเดียวกับ  โทรทัศน์  พัดลม  ตู้เย็น  หากครูยังไม่พัฒนาตนเองใก้ก้าวทันเทคโนโลยี   ก็อย่าได้คาดหวังเลยว่าการศึกษาของชาติจะก้าวทันเพื่อนบ้าน
     ทักษะการใช้เทคโนโลยีสำหรับครู  ควรประกอบไปด้วย  ทักษะด้านต่างๆ  ดังต่อไปนี้

วันจันทร์, มกราคม 09, 2555

คนเลี้ยงเสือ

         สวนสัตว์แห่งหนึ่งได้เสือโคร่งใหม่มาหนึ่งตัว  ทางผู้บริหารระดับสูงของสวนสัตว์ตั้งงบประมาณอาหารเสือตัวนั้นเป็นเงิน    บาทต่อวันตามค่าเงินในสมัยนั้น  เมื่อคนเลี้ยงเสือได้เบิกเงิน    บาทไปซื้อเนื้อมาเลี้ยงเสือ แต่ละวันเขาได้ยักยอกเงินค่าอาหารเสือไปหนึ่งสลึง  เสือได้กินเนื้อราคา ๗๕  สตางค์ต่อวัน  เสือไม่อ้วน  ผู้คนมาชมสวนสัตว์เห็นเสือไม่อ้วนจึงร้องเรียนไปที่ผู้อำนวยการสวนสัตว์ว่าตั้งงบประมาณค่าอาหารเสือน้อยไป  ผู้อำนวยการจึงส่งผู้ตรวจการไปตรวจ ผู้ตรวจการคนนั้นไปตรวจแล้วรู้ความจริงว่ามีการยักยอกเงินไป ๑ สลึง เขาจึงขอเงินค่าปิดปากอีก ๑ สลึง สถานการณ์ยิ่งเลวร้าย เพราะ ๒ คนยักยอกไป ๒ สลึง เหลือค่าอาหารวันละ ๒ สลึงเท่านั้น เสือจึงผอมลงไปอีก