บทความที่ได้รับความนิยม

วันอังคาร, เมษายน 20, 2553

บุญผะเหวด (เวสสันดรชาดก)

บุญผะเหวด เป็นอีกจารีต หรือฮีต หรือประเพณี อย่างหนึ่งที่เกิดจากความเชื่อในคำสอนของพระสัมมาสัมโพธิญาณ สำหรับพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ที่เชื่อในเรื่องบุญ-บาป หรือการทำดีได้ดี การทำชั่วได้ชั่ว อันบุญผะเหวดนี้ในแต่ละท้องที่ จะมีวิธีการจัดที่แตกต่งกันออกไปตามธรรมเนียมปฏิบัติที่ยึดถือกันมา แต่ยังคงเป้าหมายเดียวกันคือ บุญหรือความสุขใจ

ชาติพันธุ์ลาว อันได้แก่พี่น้องชาวอิสานตอนกลาง -ตอนเหนือทั้งหลาย ที่ใช้ภาษาถิ่นไทยลาว ในชีวิตประจำวันมักจะมีขั้นตอนการปฏิบัติในบุญผะเหวดที่คล้ายคลึงกันเป็นส่วนใหญ่ โดยจังหวัดที่มีชื่อเสียงในการจัดบุญผะเหวดคือจังหวัดร้อยเอ็ด

ชาติพันธุ์คะแมร์ ซึ่งได้แก่ พี่น้องในเขตอิสานตอนใต้เกือบทั้งหมด สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ จะมีประเพณีปฏิบัติที่แปลกแตกต่างจากทางอิสานตอนเหนือ ค่อนข้างมาก จนผมเองกยังแปลกใจ เพราะแตกต่างไปจากที่เคยเห็นเมื่อสมัยเยาว์วัย โดยเฉพาะในพื้นที่บ้านบักจรัง อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ที่ได้มาอาศัยและทำงานอยู่ที่นี่

บุญผะเหวดบ้านบักจรัง จะมีการจัดหรือการดำเนินการดังนี้

๑. ชาวบ้านจะประชุมเพื่อแบ่งกลุ่ม แบ่งคุ้มให้เท่ากับจำนวนกัณฑ์ในการเรื่องมหาเวสสันดรชาดก คือ ๑๘ กัณฑ์ แล้วให้แต่ละคุ้มจัดทำต้นกัณฑ์หลอนคุ้มละหนึ่งต้น และร่วมกันแห่มาในวันรวมงานให้ถือว่าเสมือนการแห่ผะเหวดเข้าเมือง ตอนเย็นมีการเทศน์ในกัณฑ์บูชาธรรม ซึ่งจะกล่าวถึงเรื่องอานิสงฆ์ที่จะได้รับจากการฟังเทศน์ในบุญผะเหวด

๒. ในวันรุ่งขึ้นจะเริ่มการเทศน์เกี่ยวกับเวสสันดรชาดก จากกัณฑ์แรกไปจนถึงกัณฑ์สุดท้าย ญาติโยมที่มาสดับรับฟังบุญผะเหวดรับศีลรับพร กราบลาพระคุณเจ้ากลับบ้าน เป็นการเสร็จการเทศน์

๓. วันรุ่งขึ้นร่วมกันทำบุญใส่บาตร เป็นอันเสร็จพิธี

นี่คือเรื่องของการจัดบุญผะเหวดของชุมชนที่นี่ บ้านบักจรัง ภายใต้วัฒนธรรมของชุมชนที่ใช้ภาษาถิ่นไทยคะแมร์