ทฤษฎีของบลูม
เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนการสอนอย่างไร
ทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม ( Bloom 1976 ) ( อ้างจาก รศ.ดร.ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ ,
2535 : 115 – 117 )
บลูมได้เสนอทฤษฎีการเรียนรู้ในโรงเรียนไว้ดังนี้
- พื้นฐานของผู้เรียนเป็นหัวใจในการเรียน
ผู้เรียนแต่ละคนจะเข้าชั้นเรียนด้วยพื้นฐานที่จะช่วยให้เขา
ประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ต่างกัน ถ้าเขามีพื้นฐานที่คล้ายคลึงกัน
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจะไม่แตกต่างกัน
-
คุณลักษณะของแต่ละคน เช่น ความรู้ที่จำเป็นก่อนเรียน แรงจูงใจในการเรียน
และคุณภาพของการสอน เป็นสิ่งที่ปรับปรุงได้
เพื่อให้แต่ละคนและทั้งกลุ่มมีระดับการเรียนรู้ที่สูงขึ้น
สรุป
เพราะฉะนั้นเราสามารถสรุปได้ว่า การเรียนรู้หมายถึง
กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากเดิมไปสู่พฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวร
และพฤติกรรมใหม่นี้เป็นผลมาจากประสบการณ์หรือการฝึกฝน
มิใช่เป็นผลจากการตอบสนองตามธรรมชาติหรือสัญชาตญาณ หรือวุฒิภาวะ หรือพิษยาต่าง ๆ
หรืออุบัติเหตุ หรือความบังเอิญ
พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจะต้องเปลี่ยนไปอย่างค่อนข้างถาวร
จึงจะถือว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้น หากเป็นการ เปลี่ยนแปลงชั่วคราวก็ยังไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้เมื่อบุคคลเกิดการเรียนรู้
จะเกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้ (Bloom, 1959)
1. การเปลี่ยนแปลงทางด้านความรู้
ความเข้าใจ และความคิด (Cognitive Domain) หมายถึง
การเรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระใหม่ ก็จะทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจสิ่งแวดล้อมต่าง
ๆ ได้มากขึ้น เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสมอง
2.
การเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ ความรู้สึก ทัศนคติ ค่านิยม (Affective
Domain) หมายถึง เมื่อบุคคลได้เรียนรู้สิ่งใหม่
ก็ทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกทางด้านจิตใจ ความเชื่อ ความสนใจ
3. ความเปลี่ยนแปลงทางด้านความชำนาญ (Psychomotor
Domain) หมายถึง การที่บุคคลได้เกิดการเรียนรู้ทั้งในด้านความคิด
ความเข้าใจ และเกิดความรู้สึกนึกคิด ค่านิยม ความสมใจด้วยแล้ว
ได้นำเอาสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปฏิบัติ จึงทำให้เกิดความชำนาญมากขึ้น เช่น การใช้มือ
เป็นต้น
อ้างอิงจาก : https://www.gotoknow.org/posts/391886
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น