ในฐานะที่ทำมาหากินกับวงการศึกษามาค่อนชีวิต อยากจะย้อนความรู้ที่เกิดขึ้นและนำมาประยุกต์ใช้จนถึงทุกวันนี้ หากเป็นด้านการจัดการเรียนรู้ ก็หนีไม่พ้นทฤษฎีของบลูม
เบนจามิน บลูม |
ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Bloom (Bloom’s Taxonomy)กล่าวถึงการจำแนกการเรียนรู้ตามทฤษฎีของบลูม ซึ่งแบ่งเป็น
3 ด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย ด้านจิตพิสัย และด้านทักษะพิสัย
โดยในแต่ละด้านจะมีการจำแนกระดับความสามารถจากต่ำสุดไปถึงสูงสุด เช่น
ด้านพุทธิพิสัย เริ่มจากความรู้ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์
การประเมิน นอกจากนี้ยังนำเสนอระดับความสามารถที่มีการปรับปรุงใหม่ตามแนวคิดของ Anderson
and Krathwohl (2001) เป็น การจำ(Remembering) การเข้าใจ(Understanding) การประยุกต์ใช้(Applying)
การวิเคราะห์ (Analysing) การประเมินผล (Evaluating)
และการสร้างสรรค์ (Creating) ด้านจิตพิสัย
จำแนกเป็น การรับรู้, การตอบสนอง, การสร้างค่านิยม,
การจัดระบบ และการสร้างคุณลักษณะจากค่านิยม ด้านทักษะพิสัย
จำแนกเป็น ทักษะการเคลื่อนไหวของร่างกาย, ทักษะการเคลื่อนไหวอวัยวะสองส่วนหรือมากกว่าพร้อมๆกัน,
ทักษะการสื่อสารโดยใช้ท่าทาง และทักษะการแสดงพฤติกรรมทางการพูด
ทฤษฎีการเรียนรู้คืออะไร
การเรียนรู้
(Learning) คือ
กระบวนการของประสบการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างค่อนข้างถาวร
ซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้ไม่ได้มาจากภาวะชั่วคราว วุฒิภาวะ หรือสัญชาตญาณ(Klein
1991:2)
การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร
โดยเป็นผลจากการฝึกฝนเมื่อได้รับการเสริมแรง
มิใช่เป็นผลจากการตอบสนองตามธรรมชาติที่เรียกว่า ปฏิกิริยาสะท้อน (Kimble
and Garmezy) การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
อันเป็นผลจากการฝึกฝนและประสบการณ์ แต่มิใช่ผลจากการตอบสนองที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
(Hilgard and Bower) การเรียนรู้เป็นการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง
อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละคนได้ประสบมา (Cronbach) การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่บุคคลได้พยายามปรับพฤติกรรมของตน
เพื่อเข้ากับสภาพแวดล้อมตามสถานการณ์ต่าง ๆ
จนสามารถบรรลุถึงเป้าหมายตามที่แต่ละบุคคลได้ตั้งไว้ (Pressey, Robinson
and Horrock, 1959)
ทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม เป็นอย่างไร
Bloom
ได้แบ่งการเรียนรู้เป็น 6 ระดับ
•ความรู้ที่เกิดจากความจำ (knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด
•ความเข้าใจ (Comprehend)
•การประยุกต์ (Application)
•การวิเคราะห์ ( Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้
•การสังเคราะห์ ( Synthesis) สามารถนำส่วนต่างๆ
มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ให้แตกต่างจากรูปเดิม เน้นโครงสร้างใหม่
•การประเมินค่า ( Evaluation) วัดได้
และตัดสินได้ว่าอะไรถูกหรือผิด
ประกอบการตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผลและเกณฑ์ที่แน่ชัด เดี๋ยวว่าต่อ เป็นตอนต่อไป นะครับ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น