ครู ๒ ปี ครู ๔ ปี ครู ๕ ปี : ป.กศ. ป.กศ.(สูง) ค.บ. กศ.บ.
ศศ.บ. ฯลฯ
ทำไม?...
เด็กคนนี้จึงสอบได้ที่โหล่บ่อยๆ
ทำไม?...
เด็กห้องนี้สอบได้ – สอบตกมากกว่าห้องนั้นข้อสอบของเรามันยากเกินไปหรือเปล่า ?
เด็กตกเพราะเราสอนโดยครูเป็นสำคัญมากไปหรือเปล่า?
และ ฯลฯ
ความสงสัยเหล่านี้จะนำให้ครูปฏิบัติการอะไรสักอย่างเพื่อค้นคว้าหาคำตอบ กิจกรรมนี้ครูโดยทั่วๆ ไปก็ทำกันอยู่บ้างแล้ว แต่ทำอย่างไม่เป็นพิธีรีตอง นี่แหละที่เรียกกันว่า “การวิจัย” ในชั้นเรียน จำไว้
“ปรัชญา” “หลักสูตร” “การสอน” “การสอบ” “การวิจัย” คำเหล่านี้คือ คำสำคัญสำหรับผู้ที่ จะตั้งตัวเป็นครูโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นศาสดาครู หรือครูเดินดิน ไม่ว่าจะเป็นครูสอนวิชายากหรือง่าย ไม่ว่าจะเป็นครูสอนปฐมวัยหรือในมหาวิทยาลัย ครู ป.กศ. (แอ้) ครู ป.กศ. สูง ครูปริญญาตรี ครูปริญญาโท ครูปริญญาเอก ครูผู้ช่วย ครูปฏิบัติการ ครูชำนาญการ ครูชำนาญการพิเศษ ครูเชี่ยวชาญ ครูเชี่ยวชาญพิเศษ ก็แล้วแต่ จำเป็นต้องรู้เรื่อง “ปรัชญา” “หลักสูตร” “การสอน” “การสอบ” “การวิจัย” ตามสติกำลังอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จึงจะนับว่าเป็นครู เป็นนักการศึกษา สมกับสภาวการณ์ในปัจจุบันที่ยกย่องว่าเป็นวิชาชีพชั้นสูง ค่าตอบแทนรายเดือนก็สูงลิ่ว จนหมาแหงนมอง
คำสำคัญ ๕ ประการที่กล่าวมาข้างต้นสัมพันธ์กันเป็นแกนเดียวกับ “กระบวนการวัดผล” ที่มนุษย์อื่นหรือบุคคลในอาชีพอื่นไม่รู้เรื่อง เป็นภาระของอาชีพครูโดยเฉพาะซึ่งจัดว่าเป็นเทคนิคอย่างหนึ่งของครูทุกคนในปัจจุบัน เทียบได้กับแพทย์ที่รู้เทคนิคการผ่าตัด ซึ่งบุคคลทั่วไปก็ทำไม่ได้เช่นกัน
จึงขอฝากถึงผู้ที่จะตั้งตนเป็นครูคน ผู้ที่เป็นครูอยู่แล้ว อย่าตั้งตัวเป็นเพียงแค่ “นักแจวเรือจ้าง” เช้าหนึ่งชาม
เย็นครึ่งชาม เหยาะๆ แหยะๆ แต่ควรเป็น “นักพัฒนาเทคนิคการแจวเรือจ้าง” ให้เป็นผู้มีทักษะหรือเทคนิควิธีในการจัดการเรียนรู้เหนือขึ้นไป ตามค่าตอบแทนแห่งวิทยฐานะ จึงควรค่าแก่การยกย่องเชิดชู
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น