เรื่องธรรมาภิบาล ได้ยินได้ฟังบ่อยมากในช่วงที่กำลังศึกษาระดับมหาบัณฑิต (ราวปี พ.ศ. 2542 ) ตอนนั้นอาจารย์ผูั้้สอนได้นำมาทดสอบนักศึกษาด้วย บางท่านก็เขียนได้ยาวยืดแต่ไม่เข้าประเด็น บางท่านก็เขียนไม่ออกทั้งๆ ที่ปากกาก็ไม่หมดหมึก นับว่ายากพอสมควร เพราะท่านให้เชื่อมโยงไปสู่การนำไปปฏิบัติจริงในสถานศึกษา ส่วนตัวผลเอง ก็จำได้แต่หัวใจของธรรมาภิบาล ว่า " นิติ - คุณ - โปร่ง - ร่วม - ชอบ - คุ้ม " รายละเอียดก็เรียงความกันไปตามถนัด วันนี้เลยนำมาเรียงถ้อยคำใหม่ ให้เป็นมาตรฐานอ้างอิงได้บ้าง
หลักธรรมาภิบาลระบบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หรือหลักธรรมาภิบาล (GOOD GOVERNANCE) หมายถึง แนวทางในการจัดระเบียบเพื่อให้สังคมของประเทศทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ เอกชนและภาคประชาชน สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข และตั้งอยู่ใน ความถูกต้องเป็นธรรม ตามหลักพื้นฐานการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ดังนี้
1. หลักนิติธรรม (The Rule of Law)
หลักนิติธรรม หมายถึง การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอำเภอใจ หรืออำนาจของ ตัวบุคคล จะต้องคำนึงถึงความเป็นธรรม และความยุติธรรม รวมทั้งมีความรัดกุมและ รวดเร็วด้วย
2. หลักคุณธรรม (Morality)
หลักคุณธรรม หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้อง ดีงาม การส่งเสริม ให้บุคลากรพัฒนาตนเอง ไปพร้อมกัน เพื่อให้บุคลากรมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบ วินัย ประกอบอาชีพสุจริต เป็นนิสัย ประจำชาติ
3. หลักความโปร่งใส (Accountability)
หลักความโปร่งใส หมายถึง ความโปร่งใส พอเทียบได้ว่ามีความหมาย ตรงข้าม หรือเกือบตรงข้าม กับการทุจริต คอร์รัปชั่น โดยที่เรื่องทุจริต คอร์รัปชั่น ให้มี ความหมายในเชิงลบ และความน่าสะพรึงกลัวแฝงอยู่ ความโปร่งใสเป็นคำศัพท์ที่ให้แง่มุมในเชิงบวก และให้ความสนใจในเชิงสงบสุข ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ได้สะดวกและเข้าใจง่าย และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องอย่างชัดเจนในการนี้ เพื่อเป็น สิริมงคลแก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานให้มีความโปร่งใส ขออัญเชิญพระราชกระแสรับสั่งในองค์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ที่ได้ทรงมีพระราชกระแสรับสั่ง ได้แก่ ผู้ที่มีความสุจริต และบริสุทธิ์ใจ แม้จะมีความรู้น้อยก็ย่อมทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้มากกว่าผู้ที่มีความรู้ มาก แต่ไม่มีความสุจริต ไม่มีความบริสุทธิ์ใจ
4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
หลักการมีส่วนร่วม หมายถึง การให้โอกาสให้บุคลากรหรือผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมทางการ บริหารจัดการเกี่ยวกับการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ เช่น เป็นคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และหรือ คณะทำงานโดยให้ข้อมูล ความคิดเห็น แนะนำ ปรึกษา ร่วมวางแผนและร่วมปฏิบัติ
5. หลักความรับผิดชอบ (Responsibility )
หลักความรับผิดชอบ หมายถึง การตระหนักในสิทธิและหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาการบริหารจัดการ การกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง รวมทั้งความกล้าที่จะยอมรับผลดีและผลเสียจากกระทำของตนเอง
6. หลักความคุ้มค่า (Cost – effectiveness or Economy)
หลักความคุ้มค่า หมายถึง การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้บุคลากรมีความประหยัด ใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างคุ้มค่า และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน
"ปัญญา ทำให้มนุษย์คิดค้นประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อใช้ทุ่นแรงในการทำงาน ปัญญาทำให้มนุษย์รู้ว่าอะไรควรไม่ควร อะไรดีหรือไม่ดีอย่างไร ปัญญาทำให้มนุษย์แสวงหาคำตอบของข้อสงสัยที่เกิดขึ้น ในชีวิตและของสิ่งที่พบเห็นในธรรมชาติ"
บทความที่ได้รับความนิยม
-
ผมเกิดในยุคสงครามเวียดนามกำลังดุเดือด เมื่อเริ่มอ่านคล่องเขียนคล่อง และอ่านได้อย่างมีวิจารณญาณแล้ว จึงชื่นชอบที่จะศึกษาเรื่อ...
-
เทคนิคการปกครองชั้นเรียนของครู เทคนิคหรือวิธีการที่ครูใช้ปกครองชั้นเรียนมีส่วนส่งเสริมในการสร้างบรรยากาศทางจิต วิทยา กล่าวคือ ถ้า...
วันอาทิตย์, พฤษภาคม 26, 2556
ธรรมาภิบาล (GOOD GOVERNANCE)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น