บทความที่ได้รับความนิยม

วันพุธ, กันยายน 12, 2555

การอ่าน (อีกแล้ว)



ห่างหายจากบล็อกไปนานโข  มาคราวนี้ก็นำปัญหาเดิมๆ  มาเล่าสู่กันฟัง  ปัญหาที่ยกมาตั้งเป็นประเด็นในการเขียนครั้งนี้ก็หนีไม่พ้นเรื่องของ  การอ่าน
การอ่านคืออะไร  หมายถึงอะไร  ทำไมสำคัญแท้  ตอบประเด็นให้เข้าใจ
  การอ่าน  หมายถึง  การรับรู้ข้อความจากการเขียนของตนเองหรือของผู้อื่น  ซึ่งรวมไปถึงการรับรู้ความหมายจากเครื่องหมายและสัญลักษณ์ต่างๆ  เช่นเครื่องหมาย  จราจร  เครื่องหมายบนแผนที่  เป็นต้น
การอ่านมีความสำคัญมากน้อยเพียงใดล่ะ 
  คนเป็นสัตว์สังคมที่อยู่ร่วมกันและมีความสัมพันธ์กันในกลุ่มของตน  อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความคิด  ความสนใจ เพื่อให้สังคมเกิดความสงบสุขและพัฒนา  การติดต่อสื่อสารจึงเข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการเชื่อมโยงคนทุกคนเข้าด้วยกัน  มีการสนทนา  การอ่านข้อเขียนซึ่งกันและกัน  สำหรับสังคมปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  แม้ว่าจะมีการสื่อสารถึงกันด้วยวิธีการใหม่ๆ  แต่การอ่านก็ยังมีความสำคัญต่อวิธีการสื่อสารเหล่านั้นด้วย  ไม่ว่าจะเป็นการอ่านข้อความ อ่านจดหมายอิเลคทรอนิคส์  อ่านเฟชบุ๊ค ฯลฯ
  การอ่านเป็นทักษะที่จำเป้นอย่างยิ่งต่อการศึกษาหาความรู้และพัฒนาชีวิต  นอกจากจะทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้แล้ว  ยังก่อให้เกิดความเพลิดเพลินสนุกสนาน  ส่งเสริมให้มีความคิดสร้างสรรค์  ได้แนวคิดในการดำเนินชีวิต  นอกจากนี้แล้ว  การอ่านยังเป็นหัวใจของการศึกษาทุกระดับ  และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาหารู้ของคนทุกเพศทุกวัย

อ่านไปทำไม
   เราสามารถตอบคำถามกวนๆ  ได้ดังนี้
1)    อ่านเพื่อศึกษาค้นคว้า  ต้องการได้รับความรู้จากเรื่องที่อ่าน  เช่น  การอ่านหนังสือประเภทตำรา  สารคดี  หนังสืออ่านเพิ่มเติม  วารสาร  เป็นต้น
2)    อ่านเพื่อความบันเทิง  อาหารใจอ่านแล้วมีความสุข  วางไม่ลง  เช่น  การอ่านหนังสือการ์ตูนของเด็ก  การอ่านหนังสือนวนิยาย
3)    การอ่านเพื่อความคิดหรือความต้องการอื่นๆ  อ่านเพื่อแสวงหาคำตอบให้กับตนเอง  ไม่ว่าจะเป็นแนวความคิดด้านปรัชญา  วัฒนธรรม  จริยธรรม  ประวัติศาสตร์  ความคิดเห็นทั่วไป  เพื่อให้เกิดความรู้ความคิดและอารมณ์  อันจะขัดเกลาจิตใจให้ประณีต  เกิดสติปัญญาพิจารณาแยกแยะได้ว่าอะไรดี  อะไรไม่ดี  อะไรควร  อะไรไม่ควร
การอ่านมีระดับไหม    ตอบว่ามี
ผู้รู้  ได้แบ่งระดับการอ่านออกเป็น  2  ระดับ  คือ
1)    ระดับ  อ่านออก  หมายถึง  การที่ผู้อ่านรู้จักพยัญชนะ  สระ  และเครื่องหมายต่างๆ  สามารถอ่านออกเสียงออกมาเป็นคำๆ  ได้อย่างถูกต้อง
2)    ระดับ  อ่านเป็น  แตกต่างจากการอ่านออกมากทีเดียว  เพราะการอ่านเป็นหมายถึง  การอ่านได้ถูกต้อง  คล่องแคล่ว  จับใจความได้ตรงตามประเด็นที่ผู้เขียนต้องการ  ทราบความหมายของของข้อความทุกอย่าง  รวมถึงความหมายที่ผู้เขียนเจตนาแฝงเร้นเอาไว้  สามารถเข้าใจเจตนาและอารมณ์ของผู้เขียน  ฯลฯ  ซึ่งต้องอาศัยเวลาในการฝึกฝนค่อนข้างนาน

อ้างอิง                 www.thaigoodview.com  11  กันยายน  2555
  วีระ  สุดสังข์ : ปัญหาการอ่านหนังสือของนักเรียน  http://www.oknation.net/blog/print.php  7  กันยายน  2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น