2. แนวทางที่อาศัยวิธีการทางสถิติ เป็นการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยอาศัย ค่าของตัวเลขหรือค่าทางสถิติต่างๆ เช่น
การวิเคราะห์ทั้งฉบับ เพื่อตรวจสอบความตรง (Validity) ความเที่ยง (Reliability)
การวิเคราะห์เป็นรายข้อ เพื่อตรวจสอบความยากของข้อสอบ (Item difficulty) และอำนาจจำแนกของข้อสอบ (Item discrimination) วิธีการนี้
เราต้องนำเครื่องมือที่สร้างขึ้นมาแล้วนำไปทดลองใช้ แล้วนำผลที่ได้มาคำนวณค่าต่างๆ เทียบกับเกณฑ์การยอมรับ ถ้าหากอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ก็สามารถที่จะนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการทำวิจัยต่อไปได้ แต่ถ้ายังไม่อยู่ในเกณฑ์การยอมรับ ก็จะต้องนำมาปรับปรุงและนำไปทดสอบ หรือทดลองใช้ใหม่จนกว่าค่าที่ได้จะอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้
ในบางเทคนิคอาจพิจารณาค่าทางสถิติจากความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญก็ได้ เช่น
พิจารณาจากค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อสอบหรือข้อคำถามกับจุดประสงค์ (Index Item-Objective
congruence :IOC ) ซึ่งเป็นวิธีที่นักวิจัยนิยมกันอีกวิธีหนึ่งโดยเฉพาะการวิจัยในชั้นเรียน และงานวิจัยที่เสนอเป็นผลงานทางวิชาการเพื่อขอมีขอเลื่อนวิทยฐานะ
สมการของค่า ดัชนีความสอดคล้อง เขียนได้ดังนี้
IOC = R/N
เมื่อ R = ผลรวมของคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
N
= จำนวนผู้เชี่ยวชาญ
การแปลความหมายของคะแนน IOC
+ 1
หมายถึง ข้อคำถามนั้นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ข้อนั้น
0 หมายถึง ข้อคำถามนั้นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ข้อนั้น
- 1 หมายถึง ข้อคำถามนั้นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ข้อนั้น
IOC ≥ 0.5 แสดงว่า ข้อสอบ/แบบสอบถามข้อนั้นวัดวัตถุประสงค์ข้อนั้นจริง
ๆ
IOC < 0.5 แสดงว่า ข้อสอบ/แบบสอบถามข้อนั้นไม่ได้วัดวัตถุประสงค์ข้อนั้นจริง
ๆ
ตัวอย่างแบบฟอร์มที่ให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็น
ชื่อผู้เชี่ยวชาญ
.................................................................................................................................
ขอให้ท่านพิจารณาว่า
ขอสอบ/แบบสอบถาม ที่กำหนดให้
วัดได้สอดคล้องตรงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดให้หรือไม่ โดยทำเครื่องหมาย × ลงบนช่องที่ตรงกับความคิดเห็นของท่าน
จุดประสงค์
|
ข้อที่
|
ระดับความสอดคล้อง
|
||
สอดคล้อง
|
ไม่แน่ใจ
|
ไม่สอดคล้อง
|
||
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น