ครู ๒ ปี ครู ๔ ปี ครู ๕ ปี : ป.กศ. ป.กศ.(สูง) ค.บ. กศ.บ.
ศศ.บ. ฯลฯ
หากจะไล่เลียงกันจริงๆ
แล้ว เราก็จะเห็นว่า
การศึกษาของชาติยุคใดก็ตามจะต้องเริ่มต้นจาก “ปรัชญา” หรือความเชื่อมั่นถือมั่นของผู้มีอำนาจ ของชาติ
ของกระทรวงศึกษาธิการก่อนว่า
จะอบรมสั่งสอนเยาวชนของชาติให้เป็นบุคคลเช่นไร จะปลูกฝังให้เป็นนักจดจำ นักคิด
นักเผด็จการ หรือนักประชาธิปไตย พูดแบบง่ายๆ
ก็คือจะยึด “หลักการศึกษาใดเป็นเกณฑ์”
จากนั้นก็ถ่ายทอดความเชื่อความปรารถนาอันนั้นออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรที่เรียกกันว่า
“หลักสูตร” เพื่อกำหนดทิศทาง ระดับ และขนาด ให้ผู้สอนทั้งหลายทราบว่า
จะต้องอบรมสั่งสอนเด็กให้เจริญงอกงามไปทางนั้นๆ ตามระดับนั้นๆ
และด้วยขนาดนั้นๆ จากนั้นก็เป็นหน้าที่ของเราบรรดาครูๆ ที่จะต้องดำเนินการด้วยวิธีการต่างๆ
เพื่อชักจูงหรือแนะนำให้เด็กได้เจริญไปตามทิศทางนั้นให้จงได้ งานนี้เรียกว่า “การสอน” พอสอนไปได้พักหนึ่งครูก็เกิดอยากทราบว่านักเรียนของตนเจริญงอกงามไปแล้วเท่าใด ยังอยู่ห่างหรืออยู่ใกล้ประตูแห่งความปรารถนานั้นสักปานใด
ครูก็จัดกิจกรรมอย่างหนึ่งที่เรียกว่า “การสอบ” หรือ “การวัดผล” ขึ้นมา
พอสอบเสร็จทราบสถานภาพของผู้เรียนแต่ละคนว่าใครดีใครไม่ดีเท่าใดแล้ว ก็ชักเกิดความสงสัยขึ้นมาอีกว่า